KHammany th
บริการของเรา
นำเข้าแรงงาน MOU
จัดหา, คัดเลือก,ปรับสถานะแรงงานให้ถูกต้องตามกฏหมาย
วีซ่าทำงาน Visa Non L-A
บริการต่อวีซ่าทำงาน 2 ปี
ทำหนังสือเดินทาง (Passport)
บริการทำหนังสือเดินทางใหม่, เปลี่ยนเล่มใหม่ ลาว, เมียนมา, กัมพูชา
ต่อ MOU ครบ 2 ปี / 4 ปี
บริการต่อใบอนุญาตทำงาน 2 ปี วีซ่าทำงาน 2 ปี
ใบอนุญาตทำงาน Work permit
บริการทำหนังสือเดินทางใหม่, เปลี่ยนเล่มใหม่ ลาว, เมียนมา, กัมพูชา
บริการเอกสารต่างๆ
บริการทำรายงานตัว 90 วัน, เปลี่ยนนายจ้าง, แจ้งเข้า-แจ้งออก,เปลี่ยนสถานที่ทำงาน
บทความ
ขั้นตอนการดำเนินการเอกสารของแรงงานต่างด้าว
KHAMMANY TH
เอกสารแรงงานต่างด้าว
ด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
ให้บริการ และให้คำปรึกษา ในการจัดหา นำเข้าแรงงานต่างด้าว สัญชาติ ลาว พม่า กัมพูชา การจัดการด้านเอกสาร การให้บริการ เกี่ยวกับหนังสือเดินทาง Passport ออกเล่มใหม่ เปลี่ยนเล่ม ขยายอายุเล่ม จัดทำเป็นเล่มถาวร, วีซ่าทำงาน Visa Non L-A, ใบอนุญาตทำงาน Work Permit ขอต่ออายุ ขออนุญาต ฯลฯ ปรับสภาพแรงงานเข้าระบบ MOU ถูกกฎหมาย
พันธกิจ
การจัดตั้งบริษัท คำมะนีไทย เพื่อดำเนินการเป็นเสมือนตัวแทนหรือนายหน้า ติดต่อนายจ้างในการทำสัญญาและเงื่อนไขต่างๆ ให้คำปรึกษาในฐานะที่ปรึกษาการวางแผนการบริหารแรงงาน โดยวางมาตรการในการเตรียมจัดหาแรงงานหรือป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นร่วมกับนายจ้าง ดูแลแรงงาน ในการเข้าไปช่วยเหลือให้คำปรึกษาต่างๆ ถึงปัญหาอันเกิดจากการทำงานหรือปัญหาส่วนตัวโดยเชื่อมโยงและประสานงานกับบริษัทส่งออกแรงงานจากกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม หรือ CLMV ปัจจุบันเราได้รวมรวบบริษัทจัดหางานในประเทศต้นทาง เพื่อให้นายจ้างและแรงงานต่างด้าวได้รับการบริการที่ดี มีมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย
สิ่งที่ควรรู้เรื่องแรงงานต่างด้าว
ยึดเอกสารแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
มาตรา 131ผู้ใดยึดใบอนุญาตทํางานหรือเอกสารสําคัญประจําตัวของคนต่างด้าวไว้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับในกรณีที่คนต่างด้าวยินยอมให้ผู้ใดเก็บรักษาใบอนุญาตทํางานหรือเอกสารตามวรรคหนึ่งไว้ผู้นั้นต้องยินยอมและอํานวยความสะดวกให้คนต่างด้าวสามารถเข้าถึงเอกสารดังกล่าวได้ตลอดเวลาตามที่คนต่างด้าวร้องขอหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษเช่นเดียวกับการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง1. มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน2. ปรับ 10,000 – 100,0003. หรือ ทั้งจำทั้งปรับ4. กรณีแรงงานต่างด้าว ยินยอม สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่ถ้าแรงงานต่างด้าวขอเมื่อไหร่ต้องให้ ถ้าไม่ให้ก็ผิดกฎหมาย
ใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย มีโทษหนัก
โทษทางกฎหมาย ถ้าจ้างแรงงานผิดกฎหมายนายจ้าง“รับคนต่างด้าวเข้าทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้”ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าว 1 คนหากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปีคนต่างด้าว“ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้”คนต่างด้าว ต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาทและเมื่อชำระค่าปรับแล้วคนต่างด้าวจะถูกส่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักร และห้ามขออนุญาตทำงานภายใน 2 ปี นับแต่วันที่รับโทษ
คนต่างด้าวทำงานประเภทนี้ ผิดกฎหมาย แน่นอน
ประเภทงานที่แรงงานต่างด้าวห้ามทำ
- งานเร่ขายสินค้า
- งานตัดผม/เสริมสวย
- งานนวดไทย
- งานขับขี่ยานยนต์
ฝ่าฝืน มีโทษ ปรับ ตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และผลักดันกลับประเทศต้นทาง
ตรวจสุุขภาพแรงงานต่างด้าว ต้องตรวจอะไรบ้าง ?
- โรคเรื้อน
- วัณโรค ระยะอันตราย
- โรคซิฟิลิสในระยะที่ 3
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคติดยาเสพติด
- โรคเท้าช้าง
ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
6 เงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว MOU
- นายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างเสียชีวิต
- นายจ้างล้มละลาย
- นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
- นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตรายต่อชีวิต จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
- นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างเดิม
การแจ้งเข้า และการจ้างออก แรงงานต่างด้าว
นายจ้าง ที่จ้างแรงงานต่างด้าวทำงานต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบชื่อ คนต่างด้าว/สัญชาติและลักษณะงานที่ทำ หากคนต่างด้าวออกจากงานนายจ้างต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบพร้อมทั้งระบุเหตุแห่งการแจ้งออกด้วย
คนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบ ชื่อนายจ้าง สถานที่ทำงานของนายจ้าง และลักษณะงานที่ทำ ทั้งนี้ ต้องแจ้งภายใน 15 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน และต้องแจ้งทุกครั้งที่เปลี่ยนนายจ้าง
ต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่เข้าทำงาน และต้องแจ้งทุกครั้งที่เปลี่ยนนายจ้าง
หากผู้ใดฝ่่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท